รายละเอียดหนังสือ

จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ผู้แต่ง
: -
ผู้แปล
: -
วันที่เผยแพร่
: 16 มกราคม 2564
หน่วยงานผู้จัดพิมพ์
ISBN
: 978-616-283-122-5
จำนวนหน้า
: 204 หน้า
ขนาด (ก x ย x ส)
: -
น้ำหนัก
: 1465 กรัม

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เขียนขึ้นราวปี พุทธศักราช ๒๓๓๘ ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการสร้างบ้านสร้างเมือง ผู้คนล้วนอพยพมาจากฝั่งธนบุรีซึ่งเดิมก็เป็นชาวอยุธยา แม้แต่ช่างเขียนภาพก็เช่นเดียวกัน ย่อมเป็นช่างที่ตกค้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จึงถือได้ว่าเป็นยุคฟื้นฟูงานจิตรกรรมไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นมีแต่เรื่องของการรบทัพจับศึก การสร้างผลงานจึงมีลักษณะความอัดอั้นตันใจที่จะแสดงออกถึงฝีมือและการสร้างสรรค์ใหม่แต่แฝงด้วยคตินิยมสมัยเก่า ปัจจุบันภาพเขียนยุคเริ่มแรกเหลือน้อยมาก เนื่องจากสภาพอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งเป็นเขตร้อนชื้นทำให้ภาพจิตรกรรมฯ ชำรุดไปตามกาลเวลา ประกอบกับเทคนิคนิยมในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยที่สืบทอดกันมาเป็นการเขียนแบบปูนแห้ง ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคการเขียนแบบปูนเปียกที่นิยมเขียนกันในแถบยุโรปซึ่งมีความคงทนมากกว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จึงเกิดความชำรุดอย่างรุนแรง แต่ก็ได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่องในยุคหลัง สันนิษฐานว่าเขียนซ่อมมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งปรากฏเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกทำให้ภาพมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่าในความจริงศิลปะแบบดั้งเดิมของเรามีลักษณะพื้นฐานไม่สามารถเข้ากันได้กับศิลปะคลาสสิคแบบตะวันตก แต่ถือได้ว่าภาพที่เขียนซ่อมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ย่อมมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างน่าสนใจ หนังสือเรื่อง “จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์” ได้อธิบายเนื้อหาของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ โดยเฉพาะผนังที่เขียนเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งมีทั้งหมด ๓๒ ผนัง จะเห็นได้ว่ามีเรื่องราวที่น่าศึกษาค้นคว้า อาทิ ภาพดั้งเดิมที่เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๑ และการเขียนซ่อมในยุคสมัยใดบ้าง ฯลฯ การพัฒนารูปแบบการเขียนจิตรกรรม จะเห็นได้จากผนังที่ ๒๕ ตอนพระนางยโสธรานิพพานฯ ผนังที่ ๒๗ ตอนพระยามารทูลเตือนให้เสด็จสู่ปรินิพพาน ผนังที่ ๒๘ ตอนพระราหุลนิพพาน ฯลฯ

จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ซื้อด้วยเงินสด
380.00
 บาท  
ประหยัด 50% จาก 760.00 บาท

หนังสือมาใหม่

ไม่มีความคิดเห็น
ยังไม่มีความคิดเห็น

กรุณา เข้าสู่ระบบ ก่อนแสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้เว็บไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้